GPRS
GPRS (General Packet Radio Service) เป็นระบบที่ถูกพัฒนามาจากเครือข่ายระบบ GSM ซึ่งในระบบ GPRS นั้นในช่วงเจนเนอเรชั่นที่ 2.5G โดยที่มีความสามารถให้รับส่งข้อมูลได้ถึง172 kbps ขณะที่ระบบธรรมดาส่งได้ด้วยความเร็ว 9.6 Kbps ซึ่งความเร็วที่ 172 kbps สามารถเชื่อมต่อกับอินเตอรเน็ตได้อย่างง่ายๆ อีกทั้งยังมีความสามารถไม่ต่างกับการเชื่อมต่ออินเตอรเน็ตบนคอมพิวเตอร์ เช่น สามารถส่งข้อมูลที่เป็นตัวอักษร หรือรูปภาพกราฟิก Web Browsing E-Mail File Transfer Remote LAN Access เป็นต้น
ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=18301334f0ff0139
3G
3G หรือ Third Generation เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 อุปกรณ์การสื่อสารยุคที่ 3 นั้นจะเป็นอุปกรณ์ที่ผสมผสาน การนำเสนอข้อมูล และ เทคโนโลยีในปัจจุบันเข้าด้วยกัน
เช่น PDA โทรศัพท์มือถือ Walkman, กล้องถ่ายรูป และ อินเทอร์เน็ต 3G เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาต่อเนื่องจากยุคที่ 2 และ 2.5 ซึ่งเป็นยุคที่มีการให้บริการระบบเสียง และ การส่งข้อมูลในขั้นต้น ทั้งยังมีข้อจำกัดอยู่มาก การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น
1Gเริ่มตั้งแต่ 1G ... ซึ่งเป็นยุคที่ใช้ระบบ Analog คือใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่นเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้นซึ่งนั่นก็หมายความว่าสามารถใช้งานทางด้าน Voice ได้อย่างเดียว คือ โทรออก-รับสาย เท่านั้นไม่มีการรองรับการใช้งานด้าน Data ใดๆ ทั้งสิ้น .. แม้แต่การรับ-ส่ง SMS ก็ยังทำไม่ได้ในยุค 1Gแต่จริงๆแล้ว ... ในยุคนั้น ผู้บริโภคก็ยังไม่มีความต้องการในการใช้งานอื่นๆ นอกจากเสียง (Voice) อยู่แล้วโดยปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือยังอยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก และจะพบว่าผู้ใช้มักจะเป็นนักธุรกิจที่มีรายได้สูงเสียส่วนใหญ่
2Gหลังจากนั้น ก็ได้พัฒนาต่อมาเป็นยุค 2G ... ซึ่งเปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบ Analog มาเป็นการเข้ารหัส Digital ส่งทางคลื่น Microwave ซึ่งในยุคนี้เอง เป็นยุคที่เริ่มทำให้เราเริ่มที่จะสามารถใช้งานทางด้าน Data ได้ นอกเหนือจากการใช้งาน Voice เพียงอย่างเดียว
ในยุค 2G นี้ ... เราสามารถ รับ-ส่งข้อมูลต่างๆและติดต่อเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐาน หรือที่เรียกว่า cell site และก่อให้เกิดระบบ GSM (Global System for Mobilization) ซึ่งทำให้เราสามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือที่เรียกว่า Roaming
ยุค 2G นี้ ถือเป็นยุคเริ่มต้นแห่งการเฟื่องฟูของโทรศัพท์มือถือ... ราคาของโทรศัพท์มือถือเริ่มต่ำลง (กว่ายุค 1G) ทำให้ปริมาณผู้ใช้โทรศัพท์มือถือมีมากขึ้น ซึ่งการส่งข้อมูลของยุค 2G นี้ เป็นยุคที่มีการเริ่มฮิต Download Ringtone , Wallpaper , Graphic ต่างๆ แต่ก็จะจำกัดอยู่ที่การ Downlaod Ringtone แบบ Monotone และ ภาพ Graphic ต่างๆก็เป็นเพียงแค่ภาพขาว-ดำที่มีความละเอียดต่ำเท่านั้น
3Gต่อมา ... ก็ได้พัฒนามาเป็นระบบ 3G หรือ Third Generation ซึ่งเป็นเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคที่ 3 จุดเด่นที่สุดของ 3G นั้น ... เป็นเรื่องของความเร็วในการเชื่อมต่อและการรับ-ส่งข้อมูล โดยเน้นการเชื่อมต่อแบบไร้สายด้วยความเร็วสูง ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลต่างๆ รวดเร็วมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการ Multimedia ได้อย่างสมบูรณ์แบบ และ มีประสิทธิภาพแบบมากยิ่งขึ้น เช่น การรับ-ส่ง File ที่มีขนาดใหญ่ , การใช้บริการ Video/Call Conference , Download เพลง , ดู TV Streaming ต่างๆซึ่งถ้่าเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว ... 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่าเยอะเลย
คุณสมบัติหลักที่เด่นๆ อีกอย่างหนึ่งของระบบ 3G ก็คือ Always On ... คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ 3G ตลอดเวลาที่เราเปิดโทรศัพท์ด้วย

ที่มา : http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=0d409099dd20b30e
GPS
GPS คือ ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกผ่านดาวเทียม Globle Positioning System โดยพิกัดบนพื้นโลกที่ได้ จะมาจากการคำนวณสัญญาณนาฬิกาที่ส่งจากดาวเทียม มาที่เครื่องรับสัญญาณGPS ส่วนดาวเทียมที่ใช้สำหรับระบบ GPS ที่สามารถใช้ระบุตำแหน่งได้นั้น จะถูกออกแบบมาโดยเฉพาะให้โครจรอบโลก เพื่อส่งข้อมูลที่จะนำไปใช้คำนวณพิกัดออกมาตลอดเวลา การสะท้อนกลับของคลื่นไมโครเวฟ ระหว่างดาวเทียมและพื้นผิวโลก แน่นอนเมื่อเรารู้ตำแหน่งบนพื้นโลก เราก็สามารถระบุตำแหน่งของดาวเทียมบนอวกาศได้ ดังนั้นในทางกลับกันดาวเทียมก็สามารถระบุตำแหน่งต่างๆ บนพื้นโลกได้เช่นกัน เมื่อมันโคจรผ่านตำแหน่งนั้น
ระบบGPSจะทำงานได้นั้น ต้องประกอบไปด้วย 3 ส่วนหลักๆคือ
1. ส่วนอวกาศ หรือดาวเทียม GPS : จะมีดาวเทียมที่ใช้ดังนี้
- NAVSTAR : จากของประเทศอเมริกา มีดาวเทียมทั้งหมด 28 ดวง จะใช้จริงแค่ 24 ดวง ไว้สำรอง 4 ดวง รัศมีวงโคจร12,600 ไมล์ โคจรอบโลกที่ความเร็ว 12ชั่วโมงต่อ 1 รอบ
- Galileo : ถูกพัฒนาโดย ESA หรือ European Satellite Agency ร่วมกับประเทศจีน อิสราเอล อินเดีย โมร็อกโก ซาอุดิอาระเบีย เกาหลีใต้ และยูเครน รวมจำนวน 27 ดวง
- GLONASS : (GLObal NAvigation Satellite System) ที่พัฒนาโดยรัสเซีย
- Beidou : เป็นดาวเทียม GPS ที่กำลังพัฒนาโดยประเทศจีน
สถานีควบคุมดาวเทียมในสหรัฐ2. ส่วนภาคพื้นดิน :ทำหน้าที่คอยดูแลและควบคุมการทำงานของดาวเทียม รวมถึงวงโคจรของดาวเทียม และให้ค่าสัญญาณนาฬิกาที่ถูกต้อง กับดาวเทียม GPS
3. ส่วนผู้ใช้งานหรือครื่องรับสัญญาณ GPS : ผู้ใช้งานสามารถรับสัญญาณ GPS ได้จากอุปกรณ์หลายๆอย่าง เช่น โทรศัพท์มือถือที่รับสัญญาณ GPS ได้, GPS Receiver (ต่อกับ computer, มือถือ) หรือ เครื่อง PNA (Personal Navigation Assistant) หรือเรียกง่ายๆว่า GPS Navigator, GPS ติดรถ หรือ Car GPS
ที่มา : http://www.vanhappy.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539143113&Ntype=1

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น